วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เวสสันดรชาดก

   พระนางมัทรีฝันร้ายว่ามีบุรุษมาทำร้าย จึงขอให้พระเวสสันดรทำนายฝันให้ แต่พระนางก็ยังไม่สบายพระทัย ก่อนเข้าป่า พระนางฝากพระโอรสกับพระธิดากับพระเวสสันดรให้ช่วยดูแล  หลังจากนั้นพระนางมัทรีก็เสด็จเข้าป่าเพื่อหาผลไม้มาปรนนิบัติพระเวสสันดรและสองกุมาร  ขณะที่อยู่ในป่า พระนางพบว่าธรรมชาติผิดปกติไปจากที่เคยพบเห็น เช่นต้นไม้ที่เคยมีผลก็กลายเป็นต้นที่มีแต่ดอก  ต้นที่เคยมีกิ่งโน้มลงมาให้พอเก็บผลได้ง่าย ก็กลับกลายเป็นต้นตรงสูงเก็บผลไม่ถึง  ทั้งท้องฟ้าก็มืดมิด ขอบฟ้าเป็นสีเหลืองให้รู้สึกหวั่นหวาดเป็นอย่างยิ่ง  ไม้คานที่เคยหาบแสรกผลไม้ก็พลัดตกจากบ่า ไม้ตะขอที่ใช้เกี่ยวผลไม้พลัดหลุดจากมือ ยิ่งพาให้กังวลใจยิ่งขึ้นบรรดาเทพยดาทั้งหลายต่างพากันกังวลว่า  หากนางมัทรีกลับออกจากป่าเร็วและทราบเรื่องที่พระเวสสันดร ทรงบริจาคพระโอรสธิดาเป็นทาน  ก็จะต้องออกติดตามพระกุมารทั้งสองคืนจากชูชก  พระอินทร์จึงส่งเทพบริวาร  3  องค์ให้แปลงกายเป็นสัตว์ร้าย  อ่านเพิ่มเติม

วิธุรชาดก

  ในเมืองอินทปัตต์ แคว้นกุรุ พระราชาทรง พระนามว่า ธนัญชัย ทรงมีนักปราชญ์ประจำ ราชสำนักชื่อว่า วิธุร วิธุรเป็นผู้มีวาจาฉลาด หลักแหลม เมื่อจะกล่าวถ้อยคำสิ่งใด ก็สามารถ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสครัทธราและ ชื่นชมยินดีในถ้อยคำนั้น ในครั้งนั้น มีพราหมณ์อยู่ 4 คน เคยเป็นเพื่อน สนิทกันมาแต่เก่าก่อน ต่อมาพราหมณ์ทั้งสี่ ได้ออกบวช เป็นฤษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า หิมพานต์ และบางครั้งก็เข้ามาสั่งสอนธรรม แก่ผู้คนในเมืองบ้าง ครั้งหนึ่งมี เศรษฐี 4 คน ได้อัญเชิญฤาษีทั้งสี่ ไปที่บ้านของตน เมื่อ ฤาษีบริโภคอาหารแล้ว ได้เล่าให้เศรษฐีฟังถึง สมบัติในเมืองต่างๆทีตนได้เคยไปเยือนมา ฤาษีองค์หนึ่งเล่าถึงสมบัติของพระอินทร์ องค์ที่สองเล่าถึง สมบัติของพญานาค องค์ที่สาม เล่าถึงสมบัติพญาครุฑ และองค์สุดท้ายเล่าถึง สมบัติของพระราชาธนัญชัย แห่งเมืองอินทปัตต์ เศรษฐีทั้งสี่ได้ฟังคำพรรณนา ก็เกิดความ เลื่อมใสอยากจะได้สมบัติเช่นนั้นบ้าง ต่างก็ พยายามบำเพ็ญบุญ ให้ทาน รักษาศีลและอธิษฐาน ขอให้ได้ไปเกิดเป็นเจ้าขอสมบัติดังที่ต้องการ ด้วยอำนาจแห่งบุญ ทาน และศีล เมื่อสิ้น อายุแล้ว เศรษฐีทั้งสี่ก็ได้ไปเกิดในที่ที่ตั้ง ความปรารถนาไว้ คือ คนหนึ่งไปเกิดเป็น ท้าวสักกะเทวราช คนที่สองไปเกิดเป็น พญานาคชื่อว่า ท้าววรุณ คนที่สามไปเกิดเป็น พญาครุฑ และคนที่สี่ไปเกิดเป็นโอรสพระเจ้าธนัญชัย ครั้นเมื่อพระราชาธนัญชัยสวรรคตแล้ว ก็ได้ครอง ราชสมบัติในเมืองอินทปัตต์ต่อมา ทั้งท้าวสักกะ พญานาควรุณ พญาครุฑ และ พระราชา ล้วนมีจิตใจ ปรารถนาจะรักษาศีล บำเพ็ญธรรม ต่างก็ได้แสวงหาโอกาสที่จะรักษา ศีลอุโบสถและบำเพ็ญบุญ ให้ทาน อยู่เป็ อ่านเพิ่มเติม

พรหมนารทชาดก

 ระราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า อังคติราช ครองเมืองมิถิลา เป็นผู้ที่ตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม พระธิดาของพระเจ้าอังคติราชมีพระนามว่า รุจาราชกุมารี มีรูปโฉมงดงาม พระราชาทรง รักใคร่พระธิดา อย่างยิ่ง คืนวันหนึ่งเป็นเทศกาลมหรสพ ประชาชนพากัน ตกแต่งเคหสถานอย่างงดงาม พระเจ้าอังคติราช ประทับอยู่ท่ามกลางเหล่าอำมาตย์ในปราสาทใหญ่ ประดับประดาอย่างวิจิตรตระการ พระจันทร์กำลัง ทรงกลด เด่นอยู่กลางท้องฟ้า พระราชาทรงปรารภ กับหมู่อำมาตย์ว่า "ราตรีเช่นนี้น่ารื่นรมย์นัก เราจะทำอะไรให้ เพลิดเพลินดีหนอ" อลาตอำมาตย์ทูลว่า "ขอเดชะ ควรจะเตรียม กองทัพใหญ่ยกออกไปกวาดต้อนดินแดนน้อยใหญ่ ให้เข้า มาอยู่ในพระราชอำนาจพระเจ้าข้า" สุนามอำมาตย์ทูลว่า "ทุกประเทศใหญ่น้อยก็มา สวามิภักดิ์อยู่ในพระราชอำนาจหมดแล้ว ควรที่จะ จัดการ เลี้ยงดู ดื่มอวยชัยให้สำราญ และหาความ เพลิดเพลินจากระบำรำฟ้อนเถิดพระเจ้าข้า" วิชัยอำมาตย์ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ เรื่องการระบำ ดนตรีฟ้อนร้องนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงทอด พระเนตรอยู่แล้วเป็นนิตย์ ในราตรีอันผุ อ่านเพิ่มเติม

จันทกุมารชาดก

  ในครั้งโบราณ เมืองพารานสี มีชื่อว่า บุปผวดี มีกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าเอกราชา พระราชบุตรองค์ใหญ่ พระนามว่า จันทกุมาร ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช และ พราหมณ์ชื่อกัณฑหาล เป็นปุโรหิตในราชสำนัก กัณฑหาล มีหน้าที่ตัดสินคดีความอีกตำแหน่ง แต่กัณฑหาลเป็นคน ไม่ยุติธรรม ไม่ซื่อสัตย์ มักจะรับสินบนจากคู่ความอยู่เสมอ ข้างไหนให้สินบนมาก ก็จะตัดสินความเข้าข้างนั้น จนกระทั่งวันหนึ่ง ผู้ที่ได้รับความอยุติธรรมร้องโพนทนา โทษของกัณฑหาล ได้ยินไปถึงพระจันทกุมาร จึงตรัสถาม ว่าเกิดเรื่องอะไร บุคคลนั้นจึงทูลว่า "กัณฑหาลปุโรหิต มิได้เป็นผู้ทรงความยุติธรรม หากแต่รับสินบน ก่อความ อยุติธรรมให้เกิดขึ้นเนืองๆ" พระจันทกุมารตรัสว่า "อย่า กลัวไปเลย เราจะเป็นผู้ให้ ความยุติธรรมแก่เจ้า" แล้ว พระจันทกุมารก็ทรงพิจารณาความอีกครั้ง ตัดสินไปโดย ยุติธรรม เป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชนทั้งหลาย ฝูงชนจึง แซ่ซ้องสดุดีความยุติธรรมของพระจันทกุมาร พระเจ้าเอกราชาทรงได้ยินเสียงแซ่ซ้อง จึงตรัสถาม ครั้นทรงทราบจึงมีโองการว่า "ต่อไปนี้ ให้จันทกุมาร แต่ผู้เดียวทำหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งปวงให้ยุติธรรม" กัณฑหาลเมื่อถูกถอดออกจากตำแหน่งหน้าที่ ก็เกิด ความเคียดแค้นพระจันทกุมาร ว่าทำให้ตนขาดผล ประโยชน์ และได้รับความอับอ อ่านเพิ่มเติม

ภูริทัตตชาดก

ระราชาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า "พรหมทัต" ครอง ราชสมบัติอยู่ที่เมืองพาราณสี พระโอรสทรงดำรง ตำแหน่งอุปราช อยู่ต่อมาพระราชาทรงระแวงว่า พระโอรสจะคิดขบถ แย่งราชสมบัติ จึงมีโองการให้ พระโอรสออกไปอยู่ให้ไกลเสียจากเมือง จนกว่าพระราชา จะสิ้นพระชนม์จึงให้กลับมารับราชสมบัติ พระโอรสก็ปฏิบัติ ตามบัญชา เสด็จไปบวชอยู่ที่บริเวณแม่น้ำชื่อว่า "ยุมนา" มีนางนาคตนหนึ่งสามีตาย ต้องอยู่แต่เพียงลำพัง เกิดความ ว้าเหว่จนไม่อาจทนอยู่ในนาคพิภพได้ จึงขึ้น มาจากน้ำ ท่องเที่ยวไปตามริมฝั่งมาจนถึงศาลาที่พักของพระราชบุตร นางนาคประสงค์จะลองใจดูว่า นักบวชผู้พำนักอยู่ในศาลานี้ จะเป็นผู้ที่บวชด้วยใจเลื่อมใสอย่างแท้จริงหรือไม่ จึงจัดประดับ ประดาที่นอนในศาลานั้นด้วยดอกไม้หอม และของทิพย์จาก เมืองนาค
   ครั้นพระราชบุตรกลับมา เห็นที่นอนจัดงดงาม น่าสบายก็ยินดีประทับนอนด้วยความสุขสบายตลอดคืน รุ่งเช้าก็ออกจากศาลาไป นางนาคก็แอบดู พบว่า อ่านเพิ่มเติม

มโหสถชาดก

นเมืองมิถิลา มีเศรษฐีผู้หนึ่งมีนามว่า สิริวัฒกะ ภรรยาชื่อ นางสุมนาเทวี นางสุมนาเทวีมีบุตรชายคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อคลอด ออกมานั้นมีแท่งโอสถอยู่ในมือ เศรษฐีสิริวัฒกะเคยเป็นโรค ปวดศีรษะมานาน จึงเอาแท่งยานั้นฝนที่หินบดยา แล้วนำมา ทาหน้าผาก อาการปวดศีรษะก็หายขาด ครั้นผู้อื่นที่มีโรคภัย ไข้เจ็บมาขอปันยานั้นไปรักษาบ้าง ก็พากันหายจากโรค เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว เศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรว่า "มโหสถ" เพราะทารกนั้นมีแท่งยาวิเศษ เกิดมากับตัว เมื่อมโหสถเติบโตขึ้น ปรากฏว่ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาด กว่าเด็กในวัยเดียวกัน
   ครั้งหนึ่งมโหสถเห็นว่า ในเวลาฝนตก ตนและเพื่อนเล่นทั้งหลายต้องหลบฝน ลำบากลำบนเล่นไม่สนุก จึงขอให้เพื่อนเล่นทุก คนนำเงินมารวมกันเพื่อสร้างสถานที่เล่น มโหสถจัดการออกแบบอาคารนั้นอย่างวิจิตรพิสดาร นอกจาก ที่เล่นที่กินและที่พักสำหรับคนที่ผ่ อ่านเพิ่มเติม

เนมิราชชาดก

 พระราชาแห่งเมืองมิถิลา ทรงมีพระโอรสนามว่า เนมิกุมาร ผู้จะทรงสืบสมบัติในกรุงมิถิลาต่อไป พระเนมิกุมาร ทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในการบำเพ็ญทานมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงรักษาศีลอุโบสถ อย่างเคร่งครัด เมื่อพระบิดาทอดพระเนตรเห็นเส้นพระเกศาหงอก ก็ทรงรำพึงว่า บัดนี้ถึงเวลาที่จะมอบราชสมบัติให้ แก่โอรสแล้ว พระองค์เองก็จะได้เสด็จออกบำเพ็ญเพียรในทางธรรมต่อไป จึงทรงมอบราชสมบัติเมือง มิถิลาให้แก่พระเนมิราชกุมาร ขึ้นครองเป็นพระเจ้าเนมิราช ส่วนพระองค์เองก็เสด็จออกบวช รักษาศีลตราบจนสวรรคต
   เมื่อพระเจ้าเนมิราชครองราชสมบัติ โปรดให้สร้างโรงทาน ริมประตูเมือง 4 แห่ง โรงทานกลางพระนคร 1 แห่ง ทรงบริจาคทานแก่ประชาชนอยู่เป็นนิตย์ ทรงรักษาศีล และสั่งสอนประชาชนของพระองค์ให้ตั้ง มั่นอยู่ในศีลในธรรม ครั้งนั้นปรากฏว่าประชาชนทั้งหลายล้วนแต่เป็นผู้มีศีลมีสัตย์ ไม่มีการเบียดเบียนทำ บาปหยาบช้า บ้านเมืองก็ร่มเย็นเป็นสุข ผู้คนพากันสรรเสริญพระคุณของพระเจ้าเนมิราชอยู่ทั่วไป พระเจ้าเนมิราช เมื่อทรงปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ทรงสงสัยว่า การให้ทานกับการประพฤติพรหมจารย์ คือ การรักษาความบริสุทธิ์ ไม่ข้องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวโลกนั้น อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน พระอินทร์ได้ทรงทราบถึงความกังขาในพระทัยของพระเจ้า เนมิราช จึงเสด็จจากดาวดึงส์ลงมาปรากฏ เฉพาะพระพักตร์ พระร อ่านเพิ่มเติม